การส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ
ปรัชญาและความหมายของการส่งเสริมสุขภาพ นโยบายและกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงาน การวิเคราะห์และประเมินพฤติกรรมสุขภาพ วิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพแก่บุคคลในช่วงวัยต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นในวัยแรงงาน การส่งเสริมสุขภาพในสถานที่ทำงานและสถานประกอบการ บทบาทของบุคคลและสถาบันต่อการส่งเสริมสุขภาพในสถานที่ทำงานและสถานประกอบการ ฝึกทักษะและทำโครงการการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ
การยศาสตร์และสรีรวิทยาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการทำงาน
การยศาสตร์เบื้องต้นกลไกการทำงานของร่างกายภายใต้สภาวะสิ่งแวดล้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจในการทำงาน ความสามารถและข้อจำกัดในการทำงานของมนุษย์อันเนื่องมาจากปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย การประเมินค่าความสมบูรณ์ของร่างกาย ความเครียดและความเมื่อยล้าจากการทำงาน การทำงานเป็นกะ หลักในการสร้างสภาวะที่ถูกต้องในการทำงาน การออกแบบอุปกรณ์และสถานีงานเพื่อความปลอดภัย
พฤติกรรมสุขภาพและการสุขศึกษา
แนวคิด
ทฤษฎีด้านจิตวิทยา พฤติกรรมมนุษย์และพฤติกรรมสุขภาพ องค์ประกอบและปัจจัยต่าง ๆ
ที่มีผลต่อสุขภาพ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
หลักด้านสุขศึกษา การผลิตสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขศึกษา
การเขียนแผนสุขศึกษาและการประเมินการดำเนินงานสุขศึกษา
ฝึกทักษะตามกระบวนการด้านสุขศึกษาในชุมชน สถานศึกษา และสถานบริการสาธารณสุข
การปฐมพยาบาล
หลักการเบื้องต้นของการปฐมพยาบาล การวัดและแปลผลสัญญาณชีพ การประเมินอาการผู้ป่วยขั้นต้น การปฐมพยาบาลผู้ป่วยเป็นลม ชัก หมดสติ การปฐมพยาบาลผู้ที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย การปฐมพยาบาลเมื่อมีสัตว์มีพิษและสัตว์กัด การช่วยเหลือฟื้นคืนชีพเบื้องต้น การเคลื่อนย้ายและส่งต่อผู้ป่วย การปฐมพยาบาลผู้ที่กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกหักและข้อเคลื่อน การตกเลือด การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีไข้ การปฐมพยาบาลผู้ป่วยจมน้ำ การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีบาดแผล แผลไหม้ น้ำร้อนลวก การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษ
โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ธรรมชาติของโรค ลักษณะชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรค ลักษณะอาการ หลักการป้องกันของโรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคจากอาหารและน้ำ โรคของระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล โรคที่เกี่ยวกับมลพิษสิ่งแวดล้อม โรคที่เกิดจากอุตสาหกรรม โรคติดต่อจากการสัมผัส โรคติดต่อที่นำโดยแมลงและสัตว์ มะเร็งและโรคไม่ติดต่อทั่วไป กลุ่มโรคทางพันธุกรรม โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคทางสมองและระบบประสาท โรคทางระบบต่อมไร้ท่อและโรคเบาหวาน การบาดเจ็บ และโรคทางออร์โธปิดิกส์ โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ และโรคตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ กรณีศึกษาการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ฝึกปฏิบัติการภาคสนามการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อในชุมชน
ชีวสถิติสาธารณสุข
ความหมายและความสำคัญของสถิติสาธารณสุข สถิติชีพ ตารางชีพ ที่สำคัญในงานสาธารณสุข การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล ความน่าจะเป็นเบื้องต้น การแจกแจงตัวอย่าง การทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการทางสถิติ การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล และการนำข้อมูลสถิติไปใช้ในงานสาธารณสุข
ระบาดวิทยา
ความหมาย ขอบเขต จุดมุ่งหมาย และประโยชน์ของระบาดวิทยา การวัดทางระบาดวิทยา วิธีการศึกษาทางระบาดวิทยา ธรรมชาติของโรคและการกระจายของโรค การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา การสืบสวนสอบสวนทางระบาดวิทยา การตรวจคัดกรอง การวินิจฉัยชุมชน ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อ ระบาดวิทยาในการป้องกันและควบคุมโรค ระบาดวิทยาและการป้องกันสาธารณภัย และการประยุกต์ทางระบาดวิทยา ฝึกทักษะการนำวิธีการทางวิทยาการระบาดเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน
กายวิภาคและสรีรวิทยามนุษย์
ความหมายและความสำคัญของวิชากายวิภาคและสรีรวิทยา ความรู้เบื้องต้นและคำศัพท์ทางกายวิภาคศาสตร์และสรีรศาสตร์ โครงสร้างรูปร่าง ลักษณะ ตำแหน่ง และหน้าที่ของร่างกาย ตั้งแต่ระดับเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะและระบบต่าง ๆ ได้แก่ ระบบห่อหุ้มร่างกาย ระบบโครงร่าง ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัสพิเศษ ระบบหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบสืบพันธุ์ และการรักษาสมดุลของของเหลว กรดด่างและอุณหภูมิของร่างกาย
ความปลอดภัยในการทำงาน
จิตวิทยาอุตสาหกรรม
หลักการและแนวคิดของจิตวิทยาอุตสาหกรรม
สภาพแวดล้อมการทำงานและปัญหาสุขภาพจิตในโรงงานอุตสาหกรรม ความแตกต่างระหว่างบุคคลในการทำงาน
พฤติกรรมของบุคคลในองค์กร ค่านิยมเกี่ยวกับงาน ทัศนคติและความพึงพอใจในการทำงาน
การอบรมและพัฒนาบุคลากร เทคนิคการจูงใจ การบำรุงขวัญบุคลากร และการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
ผู้บริหาร หัวหน้างาน คนงาน และบุคลากรอื่น ๆ ในองค์กรปฏิบัติการทดสอบทางจิตวิทยาเบื้องต้นโดยใช้แบบประเมินต่าง
ๆ
พิษวิทยาอาชีวอนามัย
หลักการของพิษวิทยา
ประเภทของสารพิษ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย
กลไกและปฏิกิริยาของร่างกายต่อสารพิษ กลไกการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
ผลกระทบของสารพิษในสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพอนามัย
โรคจากการประกอบอาชีพและการควบคุม
หลักการและแนวคิดของโรคจากการประกอบอาชีพ
กลไกการเกิดโรคการวินิจฉัยโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
ชีวภาพ และเคมีที่ส่งผลกระทบของโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
การควบคุมและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ