การเอาชีวิตรอดในภาวะฉุกเฉิน
การเรียนรู้การสื่อสารในการขอความช่วยเหลือ เข้าใจระบบสื่อสารในการบัญชาการเหตุการณ์ การปฏิบัติตนที่เหมาะสมและการใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยทางน้ำ การสังเกตและการปฏิบัติตนกรณีการเกิดอัคคีภัยในอาคารสูง การปฐมพยาบาลและการกู้ชีพเบื้องต้น การปฏิบัติตนที่เหมาะสมด้านสุขอนามัยในภาวะภัยพิบัติ
สารสนเทศเพื่อการพยากรณ์และเตือนภัยพิบัติ
ระบบสารสนเทศ สารสนเทศกับภัยพิบัติ ข้อมูลเพื่อการพยากรณ์และเตือนภัยพิบัติ องค์กรรับผิดชอบ การบูรณาการข้อมูล ระบบฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศเพื่อการสื่อสารในภาวะวิกฤต การพยากรณ์และเตือนภัยพิบัติ การเตือนภัยด้วยวิธีการจากภูมิปัญญาชาวบ้าน การออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการเตือนภัยพิบัติ
ภูมิศาสตร์กายภาพและธรณีวิทยา
ความหมาย ความเป็นมา และประโยชน์ของการศึกษาภูมิศาสตร์และธรณีวิทยา ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของโลก ส่วนในของโลกการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก แผ่นดินไหว หินและวัฏจักรของหินการผุพังอยู่กับที่ของหินและดิน ธรณีกาล ลักษณะทางภูมิศาสตร์และธรณีวิทยาของไทย
การจัดการภัยพิบัติเบื้องต้น
นิยามและประเภทของภัยพิบัติ
สถิติ ความรุนแรง สาเหตุ แนวโน้มของการเกิดทั้งจากธรรมชาติและมนุษย์เป็นผู้กระทำ
ลักษณะของภัยพิบัติ ผลกระทบ และการจัดการภัยพิบัติทั้งเชิงโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
ตลอดจนการดำเนินงานขององค์กรภาครัฐและภาคต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
การเตรียมสหกิจศึกษา
การเตรียมความพร้อมก่อนออกปฏิบัติงานทั้งภายในมหาวิทยาลัยและหน่วยปฏิบัติงาน
ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง โดยให้มีองค์ความรู้เรื่อง หลักการ แนวคิด
กระบวนการสหกิจศึกษา ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับสหกิจศึกษา พัฒนาพื้นฐานความรู้และทักษะพื้นฐานเทคนิคการสมัครงาน
การสอบสัมภาษณ์ การเลือกหน่วยปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลิกภาพและคุณลักษณะอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการไปปฏิบัติงาน
ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสากล มาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในหน่วยปฏิบัติงาน
การจัดการผู้ประสบภัย
แนวคิด และทฤษฎีการจัดการผู้ประสบภัยพิบัติที่เกิดจากภัยธรรมชาติและมนุษย์ จิตวิทยาด้านการจัดการฝูงชนในระยะประสบภัยและหลังประสบภัยพิบัติ การช่วยเหลือทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และการบริหารจัดการยุทธปัจจัย การใช้เทคโนโลยีในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย และการติดตามประเมินผลหลังประสบภัยพิบัติถึงความต้องการพื้นฐานทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัยพิบัติอย่างถูกต้องและปลอดภัย
การวิจัยด้านการจัดการภัยพิบัติ
การวิจัยโดยใช้ปัญหาเป็นฐานซึ่งมีความสอดคล้องของปัญหา
รูปแบบการวิจัย และการสรุปผล รวมถึงการนำเสนอผลงาน
การป้องกันและระงับอัคคีภัย
ความหมายและความสำคัญของการเกิดอัคคีภัย ชนิดของการเกิดอัคคีภัย ทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้ การป้องกันและระงับอัคคีภัย การจัดทำแผนการเผชิญเหตุ การประเมินสถานการณ์ และการทำงานภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน เหตุการณ์กรณีศึกษาเกี่ยวกับเพลิงไหม้ การซ้อมแผนและการใช้อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย
ภัยพิบัติและชุมชน
การบริหารจัดการองค์กรท้องถิ่นและชุมชน ความตระหนักและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การสื่อสารหรือสร้างเครือข่ายการประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคส่วนต่างๆ ในการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน มาตรการการบริหารจัดการกรณีภัยพิบัติในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับชาติ