ภูมิคุ้มกันวิทยาและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
เซลล์และอวัยวะที่เกี่ยวข้องและประเภทของระบบภูมิคุ้มกัน แอนติเจนและโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี วิทยาภูมิคุ้มกันของเม็ดเลือดแดง ภาวะภูมิไวเกินและโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิต การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การให้วัคซีนในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข ทฤษฎีการเตรียมการและให้บริการวัคซีน และการประมาณวัคซีนเพื่อให้บริการและการจัดทำทะเบียนรายงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการวัคซีน
โภชนาการชุมชน
ความหมาย ความสำคัญของโภชนาการ หน้าที่ การย่อยและการดูดซึมสารอาหาร โภชนาการตามช่วงวัย หลักโภชนบำบัด หลักการประเมินภาวะโภชนาการในชุมชน ปัญหาโภชนาการในชุมชน แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาโภชนาการในชุมชน ฝึกทักษะการประยุกต์ใช้วิธีการประเมินภาวะทางโภชนาการเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโภชนาการในชุมชน
การวินิจฉัยและพัฒนาสุขภาพชุมชน
ความหมาย แนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพชุมชน กระบวนการในการพัฒนาสุขภาพชุมชน การศึกษาชุมชน การจัดทำเวทีประชาคมทางด้านสุขภาพ การจัดโครงการทางสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหารวมทั้งการประเมินผล เพื่อสร้างสรรค์บริการชุมชนขั้นพื้นฐานทางด้านสุขภาพอนามัยและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอย่างสมเหตุผล พอประมาณ และมีภูมิคุ้มกัน
ระบาดวิทยา
ความหมาย ขอบเขต จุดมุ่งหมาย และประโยชน์ของระบาดวิทยา การวัดทางระบาดวิทยา วิธีการศึกษาทางระบาดวิทยา ธรรมชาติของโรคและการกระจายของโรค การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา การสืบสวนสอบสวนทางระบาดวิทยา การตรวจคัดกรอง การวินิจฉัยชุมชน ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อ ระบาดวิทยาในการป้องกันและควบคุมโรค ระบาดวิทยาและการป้องกันสาธารณภัย และการประยุกต์ทางระบาดวิทยา ฝึกทักษะการนำวิธีการทางวิทยาการระบาดเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน
โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ธรรมชาติของโรค ลักษณะชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรค ลักษณะอาการ หลักการป้องกันของโรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคจากอาหารและน้ำ โรคของระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล โรคที่เกี่ยวกับมลพิษสิ่งแวดล้อม โรคที่เกิดจากอุตสาหกรรม โรคติดต่อจากการสัมผัส โรคติดต่อที่นำโดยแมลงและสัตว์ มะเร็งและโรคไม่ติดต่อทั่วไป กลุ่มโรคทางพันธุกรรม โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคทางสมองและระบบประสาท โรคทางระบบต่อมไร้ท่อและโรคเบาหวาน การบาดเจ็บ และโรคทางออร์โธปิดิกส์ โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ และโรคตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ กรณีศึกษาการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ฝึกปฏิบัติการภาคสนามการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อในชุมชน
จุลชีววิทยาสาธารณสุข
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจุลชีววิทยาและเชื้อจุลชีพ แบคทีเรียวิทยาที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ โครงสร้างและหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของแบคทีเรีย การจำแนกแบคทีเรีย การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต อาหารเลี้ยงเชื้อและการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ การเกิดโรค การติดต่อและแพร่กระจาย รวมถึงการควบคุมป้องกันแบคทีเรียแกรมบวก แบคทีเรียแกรมลบ เชื้อไวรัส โปรโตซัว เห็ด สาหร่าย ราและยีสต์ รวมถึงจุลชีววิทยาประยุกต์ในด้านต่าง ๆ การฝึกปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือในการปฏิบัติงานด้านจุลชีววิทยา การใช้กล้องจุลทรรศน์และการเตรียมสไลด์เชื้อแบคทีเรีย การย้อมแกรมแบคทีเรีย การแยกเชื้อแบคทีเรียให้บริสุทธิ์และการทดสอบความไวของเชื้อแบคทีเรีย
กายวิภาคและสรีรวิทยามนุษย์
ความหมายและความสำคัญของวิชากายวิภาคและสรีรวิทยา ความรู้เบื้องต้นและคำศัพท์ทางกายวิภาคศาสตร์และสรีรศาสตร์ โครงสร้างรูปร่าง ลักษณะ ตำแหน่ง และหน้าที่ของร่างกาย ตั้งแต่ระดับเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะและระบบต่าง ๆ ได้แก่ ระบบห่อหุ้มร่างกาย ระบบโครงร่าง ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัสพิเศษ ระบบหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบสืบพันธุ์ และการรักษาสมดุลของของเหลว กรดด่างและอุณหภูมิของร่างกาย